ส้วมโรงเรียนผ่านเกณฑ์ กรมอนามัย ร้อยละ 68 "สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน"

  

 

ส้วมโรงเรียนผ่านเกณฑ์ กรมอนามัย ร้อยละ 68

"สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน"

 

...เมื่อต้นเดือน สิงหาคม 2567 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แจ้งผลการประเมินส้วมสาธารณะใน ปี 2567 ทั้ง 12 ประเภท ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ร้อยละ 85 สำหรับส้วมสาธารณะในโรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ส้วม HAS ร้อยละ 68 พร้อมกับชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นความสำคัญและมีนโยบายในการพัฒนาส้วมโรงเรียน พร้อมทั้งสนับ สนุนงบประมาณผ่าน “โครงการสุขาดีมีความสุข” โดยกรมอนามัย ได้เน้นเรื่อง “ส้วมในโรงเรียน” ให้นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้องที่ต้องถูกสุขลักษณะ และพัฒนาส้วมสาธารณะในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน และสุขอนามัยที่ดี ป้องกันไม่ให้ส้วมเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค...

 

นับตั้งแต่ เปิดภาคเรียน 1/2567 เมื่อเดือนพฤษภาคม พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ประกาศขับเคลื่อนนโยบายเรียนดีมีความสุข โดยเฉพาะการจัดสรรงบ 100 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก 9 พันกว่าแห่ง ตามโครงการ สุขาดี มีความสุข” ส่งผลให้เกิดภาพในมิติที่ดีต่อการศึกษาแห่งความสุขโดยรวมในเชิงบวกอย่างคาดไม่ถึง 

 

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อ ต้นเดือน สิงหาคม 2567 กรมอนามัย แจ้งผลการประเมินส้วมสาธารณะใน ปี 2567 ทั้ง 12 ประเภท ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ร้อยละ 85 สำหรับส้วมสาธารณะในโรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานส้วม HAS ร้อยละ 68

 

 

อีกทั้งยังชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการ ว่า...เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นความสำคัญและมีนโยบายในการพัฒนาส้วมโรงเรียน พร้อมทั้งสนับ สนุนงบประมาณผ่าน “โครงการสุขาดีมีความสุข” โดยกรมอนามัย ได้เน้นเรื่อง “ส้วมในโรงเรียน” ให้นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้องที่ต้องถูกสุขลักษณะ และพัฒนาส้วมสาธารณะในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน HAS “สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน” ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน“

 

 

อีกทั้งที่ผ่านมา สธ.ได้บูรณาการร่วมกับ ศธ. ทั้งการสนับสนุนองค์ความรู้ส้วมสาธารณะในโรงเรียน การเสวนาทางวิชาการ การอบรมให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำความสะอาดห้องส้วม และสร้างพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการพัฒนาส้วมสาธารณะในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน และสุขอนามัยที่ดี ป้องกันไม่ให้ส้วมเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค”

 

ในอดีต โรงเรียนซึ่งเป็นสถานศึกษาเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย และมีความยากต่อการพัฒนามักจะพบปัญหาสำคัญ คือ ความขาดแคลนส้วมในโรงเรียน และ มีสภาพส้วมชำรุดไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้วมโรงเรียนไม่สะอาดมีคราบสกปรก อาจจะส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ อาจเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ กิจกรรมรณรงค์ส้วมโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานเพื่อสุขอนามัยที่ดี

 

 

การที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้สถานศึกษาดำเนิการตาม “โครงการ สุขาดี มีความสุข” เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของส้วมโรงเรียน ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการส้วมโรงเรียนมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากส้วมสาธารณะได้ และผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างเครือข่ายองค์กรต่างๆในการพัฒนาส้วมสาธารณะในโรงเรียนตามมาตรฐาน

 

 

อีกทั้งจากนโยบายของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียน เพราะถือเป็นกำลังสำคัญของประเทศ โดยส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้ จะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน

 

นอกจากจะส่งเสริมสุขภาพให้เด็กไทยเติบโตสมวัยแล้ว เน้นเรื่อง “ส้วมในโรงเรียน” ให้นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้องที่ต้อง ถูกสุขลักษณะ และพัฒนาส้วมสาธารณะในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน HAS “สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน”

 

 

รวมถึงพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ คือ ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถแบบชักโครก ไม่ทิ้งวัสดุอื่นนอกจากระดาษทิชชูลงโถส้วม ราดน้ำ หรือกดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ ล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ส้วม และช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดส้วมในโรงเรียน ลดเสี่ยงของการเกิดโรคได้

 

หากไม่มีการจัดการส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาล รวมทั้งวิธีการใช้ส้วมที่ผิดวิธี ส้วมจะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคแน่นอน

 

 

แต่ปัจจุบันหลังจาก กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศขับเคลื่อนนโยบายเรียนดีมีความสุข โดยจัดสรรงบ 100 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก 9 พันกว่าแห่ง ตามโครงการ สุขาดี มีความสุข” และมีการออกติดตามประเมินห้องน้ำสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด ตามจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการเสริมสร้างความสุขและความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยห้องน้ำในโรงเรียน ต้องสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอย น่าจะได้ผลตามที่ตั้งไว้มากขึ้น

 

3

 

ทั้งนี้ พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย ยังกล่าวถึงผลการประเมินส้วมสาธารณะในปี 2567 ทั้ง 12 ประเภท ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ร้อยละ 85 สำหรับส้วมสาธารณะในโรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานส้วม HAS ร้อยละ 68

 

อย่างไรก็ตาม กรมอนามัยดำเนินการพัฒนาสุขภาพเด็ก สามเณร และจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนมีส้วมที่มีมาตรฐาน HAS คือ สะอาด (Healthy : H ) เพียงพอ (Accessility : A ) และปลอดภัย (Safety : S)

 

 

และ สำหรับเกณฑ์มาตรฐานห้องน้ำสถานศึกษา โครงการสุขาดี มีความสุข ต่อการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการห้องน้ำ สพฐ. ต้องให้บรรลุ ๕ ประการ คือ สะอาด (แห้ง,หอม) สะดวก สบาย สุขลักษณะ และ สวยงาม ให้ได้มาตรฐาน จึงสอดรับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับ มาตรฐาน HAS ของ กรมอนามัย