ค.อ.ท.สบอีกช่อง!ชงผ่าน กมธ.วุฒิฯแปรญัตติแก้ร่าง กม.ศึกษาชาติฉบับรัฐบาล

นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จำนวน 14 คน มี ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานสมัชชาเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (....) เป็นประธานคณะทำงาน, ศาสตราจารย์พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ รองประธานคณะทำงาน คนที่หนึ่ง , ศาสตราจารย์ศิริชัย กาญจนวาสี รองประธานคณะทำงาน คนที่สอง   

ส่วนคณะทำงาน มีอาทิ นายจักรพรรดิ วะทา, นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ, นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์, นายสิรภพ เพ็ชรเกตุ, นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง คณะทำงานและเลขานุการ, นายวีรศักดิ์ เทียนทอง ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน

ทั้งนี้ ให้คณะทำงานมีอำนาจหน้าที่จัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เสนอต่อคณะทำงานพิจารณาศึกษาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เพื่อพิจารณา และเสนอแนวทางการแปรญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า คณะทำงานชุดนี้ได้จัดประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยการพิจารณานัดแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางของคณะทำงานแต่ละคน

นายรัชชัยย์กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมนัดที่สองวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 นี้ ตนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ในนามชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย และเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.) ซึ่งมีความเห็นพ้องร่วมกันว่า

ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับของรัฐบาลล่าสุด ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาบูรณการร่างฯฉบับคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) และฉบับประชาชน (....) จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อเร็วๆ นี้ มีหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาต่อวิชาชีพครู

จึงมีแนวทางที่จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ต่อที่ประชุมคณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ดังนี้

1.ให้คงความสำคัญไว้ว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ไว้ในกฎหมาย, 2.ให้คงคำว่า “ผผู้อำนวยการสถานศึกษา” ไว้ในกฎหมาย ไม่ยอมรับการใช้คำว่า “หัวหน้าสถานศึกษา”, 3.ให้คงความสำคัญ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ไว้ในกฎหมาย ไม่ยอมรับ “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู”

4.ไม่เห็นด้วยกรณีที่กฎหมายยกเลิกข้าราชการตำแหน่ง “ผู้บริหารการศึกษา”, “ผู้บริหารสถานศึกษา”, “ศึกษานิเทศก์”, บุคลากรทางการศึกษา” โดยเห็นสมควรให้ยังคงมีตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสถานศึกษา”, “ผู้บริหารการศึกษา”, “ศึกษานิเทศก์”, บุคลากรทางการศึกษา”

5.ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกความสำคัญ “หน่วยงานทางการศึกษา” โดยให้คงมีคำว่า “หน่วยงานทางการศึกษา” ซึ่งประกอบด้วย สถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตในกรุงเทพมหานคร, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด, ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำกรุงเทพมหานคร, สถาบันอาชีวศึกษาประจำจังหวัด, สถาบันอาชีวศึกษาประจำกรุงเทพมหานคร, สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด, แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด, สำนักงานศึกษาธิการกรุงเทพมหานคร, หน่วยงานตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศกระทรวง หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการข้าราชการครูกำหนด

6.ให้บุคลากรทางการศึกษาประเภท 38 ค (2) ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับข้าราชการครู สายผู้สอน, 7.ไม้เห็นด้วยกับการให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด่ายข้าราชการประจำ แต่เห็นควรให้มีหน้ที่บูรณาการการศึกษาทุกประเภทของกระทรวงศึกษาธิการ

8.ไม่เห็นด้วยกับการยุบส่วนราชการที่มีอยู่เดิม แต่อาจปรับบทบาทหน้าที่ให้กระชับคล่องตัว, 9.ให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 19 และให้คืนอำนาจการบริหารงานบุคคลให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, 10.เห็นควรให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่วางแผนบูรณาการและพัฒนาคุณภาพทางวิชาการในจังหวัด

11.เห็นควรให้มีการกระจายอำนาจสู่โรงเรียนให้มากที่สุด, 12.เห็นควรให้มีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมในทุกระดับ โดยให้ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วม, 13.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาทุกประเภทต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

14.ให้ตัดโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลจาก ก.ค.ศ. เป็นอำนาจของส่วนราชการต้นสังกัด, 15.ให้เพิ่มผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพครู ผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติ

นายรัชชัยย์กล่าวด้วยว่า ในนามชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติม คือ 1.ให้บรรดาครูอัตราจ้าง พนักงานราชการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ครบ 5 ปี และผ่านการประเมิน ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ และ 2.กำหนดให้ทุกโรงเรียนต้องมีนักการภารโรง พนักงานขับรถ (ถ้าโรงเรียนมีรถราชการ) และมีเจ้าหน้าที่ธุรการ โดยมีจำนวนที่สอดคล้องกับจำนวนนักเรียน

อนึ่ง รายชื่อองค์กรวิชาชีพทางการศึกษาที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.) แล้วมีจำนวน 20 องค์กร ประกอบด้วย

1.สมาคมนักบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย นายกสมาคม นายไพศาล ปันแดน, 2.สมาคมผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย นายกสมาคม นายรตนภูมิ โนสุ, 3.สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย ประธานสมาพันธ์ นายวีรบูล เสมาทอง, 4.ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประธานชมรม นายรัชชัย ศรสุวรรณ, 5.สหภาพครูแห่งชาติ  เลขาธิการสหภาพ นายไพโรจน์ กระจ่างพันธ์

6.ชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย ประธานชมรม นายธนชน มุทาพร, 7.ชมรมศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ประธานชมรม นายสกุล หุ่นวัน, 8.เครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย (ค.ร.อ.ท.)ประธานเครือข่ายฯ นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี, 9.สมาคมส่งเสริมการศีกษาตลอดชีวิตไทย (สศชท) นายกสมาคม นายทวีศักดิ์ วิศิษฎางกูร, 10.สมาคมลูกจ้างส่วนราชการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายกสมาคม นายวิชาญ ชัยชมภู

11.สมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด (นายประจวบ นาก้อนทอง), 12.สมาคมผู้บริการการศึกษาปราจีนบุรี (นายสุรศักดิ์ แสงบุราณ), 13.สหพันธ์ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (นางฟ้ารีดาพร บุญคำมี), 14.สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย นายกสมาคม รศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง, 15.ชมรม รอง ผอ.สพท.รุ่น 63 (นายอาวุธ ทองบุ และ ว่าที่ รต.เดชฤทธิ์ วรรณทอง)

16.ชมรม รอง ผอ.สพท.เพชรวังรี รุ่น 62 (นายบัญชา เสนาคุณ และ ดร.สมัต อาบสุวรรณ), 17.ชมรมบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย, 18.ชมรมผู้ตรวจสอบภายใน สพฐ. (นายวิชัย ปานอุทัย), 19.สมาคมครูชนบทชัยภูมิ นายกสมาคม นายสานิตย์ พลศรี, 20.สมาคมรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประเทศไทย) นายสมนึก นาห้วยทราย

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)