"ยูเนสโก-ยูนิเซฟ"ชี้!ไทยฟื้นฟูการศึกษาหลังโควิด-19 "แค่เปิด ร.ร.ยังไม่พอ..."

"ยูเนสโก-ยูนิเซฟ"แนะนำประเทศไทย

 

ฟื้นฟูการศึกษาหลังโควิด-19

 

"แค่เปิดโรงเรียน อาจยังไม่พอ..."

 

บริบทสถานการณ์

ารระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันอย่างใหญ่หลวงไปทั่วโลก ถือเป็นปรากฎการณ์ที่ส่งผลต่อการศึกษาอย่างร้ายแรงที่สุดในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้โรงเรียนต้องปิดเป็นระยะยาวนานแล้ว ยังส่งผลไปถึงภาวะถดถอยทางความรู้

การระบาดของโรคโควิด-19 ยังทำให้นวัตกรรมและการพัฒนาทางด้านการศึกษาที่เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ถดถอยลงไปอีก และวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศและทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความเข้มงวดทางการคลัง ความยากจนที่เพิ่มขึ้น

อาทิ กรณีประเทศไทย สำนักบริหารเงินทุนอุดหนุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า ครอบครัวมีรายได้ลดลงร้อยละ 56.7 ทั้งยังต้องแบ่งเบาภาระทางเศรษจุกิจแก่ญาติพี่น้องอีกร้อยละ 25.5 ในส่วนของนักเรียนพบว่า นักเรียนกล้วการติดเชื้อร้อยละ 65 ไม่มีค่าไช่จ่ายในการมาเรียนร้อยละ 39 และยังไม่มีหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกันอีกร้อยละ 28

การหยุดระงักของระบบการศึกษาตังแต่ต้นปี พ.ศ.2563 ได้ส่งผลต่อความสูญเสียและความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้อย่างมาก จากผลการสำรวจสถานการณ์ covid 19 เฉพาะในกลุ่มที่ กสศ.ได้ติดตามให้ความช่วยเหลือนั้นพบว่า จำนวนกลุ่มเป้าหมายของ กสศ.ของภาคเรียนที่ 1/2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากภาคเรียนที่ 2/2563

ความพยายามในจัดการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ของหน่วยจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเรียนที่โรงเรียนไต้ (on-site) เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (on-air) เรียนผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ (on-demand) เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต (0n-line) และเรียนที่บ้านด้วยเอกสาร (on-hand) หรือโดยการผสมผสาน เป็นสิ่งที่นำชื่นชม แม้อาจเป็นวิธีการที่ทดแทนการเรียนรู้แบบเจอหน้ากันได้ไม่ดีนัก

ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ ผลกระทบครอบครัวที่ยากจน เพราะว่านักเรียนกลุ่มที่ยากลำบากที่สุด เพียงร้อยละ 17 เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรงเรียนจะเปิดอีกครั้งในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 แต่การปิดโรงเรียนและการหยุดชะงักที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการมาโรงเรียนและการเรียนรู้ ที่ถดถอย

ถ้าประเทศไทยขจัดปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา โรงเรียนในประเทศไทยจะมีสภาพเช่นเดียวกันกับโรงเรียนทั่วโลก ที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านสุขภาพที่จำเป็นและอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การคุ้มครองและการสนับสนุนด้านจิตสังคม ดังนั้นการปิดโรงเรียนจึงเป็นอุปสรรคทั้งต่อความเป็นอยู่และพัฒนาการโดยรวมของเด็ก ไม่ไช่แค่การเรียนรู้เท่านั้น

การดำเนินงานระดับประเทศ

ภาคีเครือข่ายตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย จะได้ร่วมผนึกกำลังกันและมีพันธกิจร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญร่วมกัน เพื่อที่จะสนับสนุนแผนทำงานที่เห็นร่วมกันในระดับชาติ ระดับพื้นที่ และการระดมทุนภายในประเทศ

1. ระดมทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนประเทศในการบรรลุ 3 เป้าหมายสำคัญ

ทุกภาคส่วนจะปฏิบัติงานและร่วมมือในระดับกระทรวง เขตพื้นที่ และโรงเรียน เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ก้าวไปถึง 3 เป้าหมายสำคัญ พร้อมทั้งปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องมาตรการในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาด

2. ผลักดันในเกิดการจัดสรรงบประมาณภายในประเทศ เพื่อบรรลุ 3 เป้าหมายสำคัญ

ทุกภาคส่วนควรประสานกับรัฐบาลและผู้มีอำนาจตัดสินใจ ในการจัดลำดับความสำคัญของการจัดหาเงินทุนเพื่อการศึกษา และระดมทุนภายในประเทศเพิ่มเติม

3. นำเสนอข้อมูลแก่ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมกันทำการสำรวจ เก็บข้อมูล และจัดทำคลังข้อมูลแบบเรียลไทม์ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เราจะรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบันของการกลับมาเปิดโรงเรียนในภาวะความรู้ถดถอย การลาออก และเปลี่ยนสถานะจากนักเรียนเข้าสู่ภาวะการทำงาน รวมถึงจะทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการเรียนรู้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

เพื่อเสริมประสิทธิภาพของการฟื้นฟูทางการศึกษาภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมมือกันแบ่งปันประสบการณ์ระดับนานาซาติ และยกระดับนวัตกรรมผ่านการเจรจาเชิงนโยบายอย่างเป็นระบบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

เพียงแค่เปิดโรงเรียนหลังสถานการณ์โควิด-19 อาจยังไม่พอ นักเรียนควรจะต้องได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้พวกเขาปรับตัวและตามบทเรียนได้ทัน เราต้องช่วยโรงเรียนในการเตรียมให้การสนับสนุน และรับมือกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่ในเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อนาคตของนักเรียนทั้งรุ่นกำลังอยู่ในความเสี่ยง ถึงเวลาลงมือทำแล้ว

 

ที่มา : 

  

 

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)