สสส. ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สร้างเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน

สสส.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สร้างเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน

สสส. ลงนามความร่วมมือ ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน และ 12 อปท. เมืองนครพนม พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การรู้รับปรับตัวและตั้งรับ สร้าง เครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนหนุนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เตรียมพร้อมระบบดูแลและบริการสุขภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน โครงข่ายการช่วยเหลือทางสังคม


เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลพิมาน อ.นาแก จ.นครพนม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (
MOU) 3 ฝ่าย ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน ในฐานะ ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย 12 อปท. เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การรู้รับปรับตัว โดยมี ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เข้าร่วม

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการ สสส

 
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวว่า การลงพื้นที่เวทีจัดการความรู้และลงนามความร่วมมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการตั้งรับและปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น ร่วมกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของชุมชนท้องถิ่นในการตั้งรับและปรับตัว ในพื้นที่ชุมชนเมืองและชุมชนชนบท มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พัฒนาผู้รู้และแกนนำของแหล่งเรียนรู้ให้มีขีดความสามารถในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน มีความสามารถพัฒนาเพื่อนำความรู้ไปขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ด้วยการกำหนดและออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ตนเองได้

นายบัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน อ.นาแก จ.นครพนม  

นายบัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน อ.นาแก จ.นครพนม กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน ทำหน้าที่เป็น ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย ทั้ง 12 แห่ง พัฒนารูปธรรมตามชุดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวและตั้งรับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติอย่างน้อย 5 เรื่อง ดังนี้


1.พัฒนาระบบการจัดการพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวและตั้งรับ

2.เตรียมความพร้อมระบบการดูแลและบริการสุขภาพ

3.ยกระดับการจัดการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเศรษฐกิจชุมชน

4.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงข่ายการช่วยเหลือทางสังคม

5.การจัดการและปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับตัว


อบต.พิมาน ยังทำหน้าที่ สนับสนุนการฝึกอบรมการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายทั้ง 12 แห่ง จนมีความสามารถในการจัดทำระบบข้อมูลตำบลด้วยการใช้โปรแกรม TCNAP และสนับสนุนให้แกนนำทำวิจัยชุมชน (RECAP) เพื่อวางระบบพื้นฐานในการทำงานก่อนจะบูรณาการเข้าสู่งานประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายทั้ง 12 แห่ง ต้องร่วมกันลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ใน 2 ประเด็น ทั้งการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การลดอุบัติเหตุจราจร และการควบคุมการบริโภคยาสูบ สารเสพติดโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งให้ลดลงนายบัญชา กล่าว

ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน