เสวนากับบรรณาธิการ : “อาชีวะ” โชว์พลัง Soft Power อวดโฉมนวัตกรรมสิ่งทอสุดสร้างสรรค์ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566

 

เสวนากับบรรณาธิการ : วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์

 

จากเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย และการมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ล้วนเป็นรากฐานอันเป็นทุนทางวัฒนธรรม สะท้อนผ่านอาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิง เพลง ภาพยนตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว กลายเป็น Soft Power ของไทย ให้ที่เป็นที่รู้จักและได้รับการชื่นชมจากคนทั่วโลก หากพลังและศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยอย่างแท้จริง 

 

รวมทั้ง บรรดาศิลปินไทยที่มีความสามารถ ทีมงานบุคลากรที่มีทักษะและเชี่ยวชาญอยู่เบื้องหลัง และการสนับสนุนของภาครัฐ เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสและช่องทางใหม่ ๆ ผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ Soft Power กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย

 

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายต่อเนื่องในการสนับสนุน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม 5 F ที่เป็น Soft Power ของไทย ให้กลายเป็นสินค้าทางส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็น อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย  (Fashion) ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งทอ  และ ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) นับวันเป็นสิ่งที่นานาชาติต่างพากันถวิลหามากขึ้น 

 

ดังนั้น ในนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษาในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ร่วมออกบูธนำเสนอผลงานภายใต้ชื่อ “การพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอเพื่อยกระดับชุมชนสู่ความยั่งยืน” เมื่อ วันที่ สิงหาคม 2566 เรียกได้ว่า ทำให้สังคมรู้จักและชื่นชมชาวอาชีวะ มากขึ้น 

 

 

เนื่องมาจาก ผลิตภัณฑ์อันเป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษา ทำให้สังคมรู้จักและชื่นชมชาวอาชีวะ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

 

- ผลิตภัณฑ์ผ้าร่วมสมัยลายอัตลักษณ์ประจำถิ่น โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

- ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกผัดมัดย้อมสีธรรมชาติสีลูกจาก โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

- อุปกรณ์ขับเคลื่อนกระสวยทอผ้ากึ่งอัตโนมัติ โดย วิทยาอาชีวศึกษาสกลนคร 

และ DWM เครื่องฟอกย้อมและล้างเส้นด้ายระดับชุมชน โดย วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ

 

 

ผลงานดังกล่าวของนักศึกษา ไม่พียงส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติที่ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีระหว่างผู้เข้าชมโดยตรงแล้ว  ยังเป็นช่องทางให้ชาวต่างชาติรู้จักความเป็นไทยในกลุ่มวัยต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งขึ้นอีกด้วย    

  

เห็นว่า ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี คนสำคัญในสำนักงานอาชีวะที่ไปเปิดงานแทน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ( กอศ.) ให้สัมภาษณ์อย่างภาคภูมิใจว่า.... 

 

แนวคิดหลักในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษาในครั้งนี้ คือ การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเกี่ยวกับ “สิ่งทอ” (Textile) ซึ่งถือได้ว่าเป็น Soft Power ที่สำคัญของไทย โดยใช้กระบวนการด้านการวิจัยมาบูรณาการต่อยอดเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้ร้อยเรียงเรื่องราว (Storytelling) ในการนำเสนอที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่

 

 

- เรียนรู้อดีต เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ต่อยอดและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

- เข้าใจปัจจุบัน เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับบริบทสังคมร่วมสมัย ตลอดจนก่อให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่และภาพจำใหม่ที่สอดคล้องกับรสนิยมและวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน

- สร้างสรรค์อนาคต เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาสู่การพัฒนาต่อยอดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในเชิงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมผลงานดังกล่าวได้ที่บูธสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บูธ FL1) ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า งานนี้จะสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้ใดผ่านไปยังวิทยาลัยอาชีวศึกษา ดังกล่าว น่าจะแวะขอชื่นชมผลงานถือโอกาสเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ฝีมือของนักศึกษาได้ เช่นกัน.

  

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage