นายกฯสั่ง ศธ. ออกมาตรการอะไรก็ได้ แก้คน ไทยด้อยภาษาอังกฤษ อยู่กลุ่มรั้งท้ายโลก

นายกฯสั่ง ศธ. ออกมาตรการอะไรก็ได้ แก้คน

ไทยด้อยภาษาอังกฤษ อยู่กลุ่มรั้งท้ายโลก

 

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในที่ประชุม ครม.เมื่อวานนี้  27 พ.ย.66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ฝากให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ "ตอบสนอง" ต่อกรณีที่มีการเปิดเผยการจัดอันดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ดังกล่าว โดยไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไร ก็ขอให้ออกมาอย่างเร่งด่วน

 

เป็นประเด็นที่นายกฯ ต้องมีข้อสั่งการเร่งด่วนในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (28 พ.ย.66) หลังมีการเปิดเผยผลสำรวจพบว่า ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทย อยู่ในอันดับ 101 จาก 113 ประเทศทั่วโลก 

 

จากผลสำรวจโดย "อี เอฟ เอ็ดดูเคชัน เฟิร์ส" (EF Education First) องค์กรนานาชาติที่เชี่ยวชาญเรื่องการฝึกอบรมด้านภาษาและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ที่ได้เปิดเผยดัชนีความสามารถทางภาษาอังกฤษ จากการทดสอบผู้ใหญ่ 2.2 ล้านคน ใน 113 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ พบว่าประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 101 จาก 113 ประเทศ และรั้งอันดับสุดท้ายจาก 8 ประเทศอาเซียน โดยที่การสำรวจครั้งนี้ไม่มีผลสำรวจของบรูไนและลาว

 

จากคะแนนค่าเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 416 คะแนน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 502 ก็เท่ากับสรุปผลได้ว่าจัดอยู่ในเกณฑ์ "ต่ำมาก" ซึ่งถ้าพิจารณาจากกราฟที่มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2011 จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยของไทย ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย มีเพียงปี 2017 ที่ขึ้นไปเล็กน้อยเท่านั้น

 

เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละจังหวัดของไทย พบว่า มี 3 จังหวัดที่มีคะแนนดีกว่าจังหวัดอื่น ๆ ดูได้จากช่องสีเหลืองๆ ที่อยู่บนสุด 3 อันดับ คือ จ.เชียงใหม่ ที่ได้ 464 คะแนน กรุงเทพฯ 457 คะแนน และ จ.ภูเก็ต 456 คะแนน แต่ก็ยังจัดอยู่ในต่ำอยู่ดี

 

"อีเอฟ เอ็ดดูเคชัน" ระบุว่า การทดสอบนี้ เป็นแบบทดสอบทักษะการอ่านและการฟังภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ เป็นการทดสอบที่ได้มาตรฐานและให้คะแนนอย่างเป็นกลาง ซึ่งออกแบบมาเพื่อจัดประเภทความสามารถทางภาษาของผู้สอบในยกระดับ

 

เรื่องดังกล่าว เป็นประเด็นที่มีผู้คนพูดถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ บางส่วนมองว่า เป็นเพราะการสอน ที่เน้นให้ท่องจำ เน้นทำข้อสอบ ไม่ได้สอนให้สื่อสาร ไม่ได้ให้เด็กใช้จริง ผู้ที่พูดได้สื่อสารคล่องเพราะต้องไปเสียเงินเรียนเพิ่มเอง ทั้ง ๆ ที่ในโรงเรียน เรียนภาษา อังกฤษ 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้

 

บางส่วนก็มองว่าเรื่องนี้อาจต้องมาทบทวนแล้วหรือไม่ เช่นความเห็นนี้ที่มองว่า ถ้าเราทั้งหมดเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่อนุบาลแต่ยังพูดได้งูๆปลาๆ ทั้งเรียนและสอบหนักกว่าเจ้าของภาษา ระบบมันอาจต้องเปลี่ยนแล้วหรือไม่

 

นายแอนดรูว์ กลาส อดีตผู้อำนวยการบริติช เคานซิล ประเทศไทย คนก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง ปัญหาด้านภาษาอังกฤษของไทยเกิดจาก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ส่วนมากยังใช้การเรียนการสอนแบบยึดตามหลักไวยากรณ์ การแปล และท่องจำมากกว่าสื่อสารได้ในชีวิตจริง และ ระบบการวัดผลทักษะภาษา ยังคงมุ่งเน้นไปที่การใช้ภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์ การอ่าน ซึ่งล้วนแต่ไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

 

นอกจากนี้ ยังมี นาง Anne-Marie Trevelyan รมช.กระทรวงการต่างประเทศ (ด้านอินโด-แปซิฟิก) Mr. Mark Gooding OBE British Ambassador to Thailand และคณะจากสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ได้เข้าพบ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เพื่อหารือความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา พัฒนาต่อยอดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในอนาคต เมื่อปลาย วันที่ 21 เดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ยินดีที่จะให้การสนับสนุนพร้อมให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างเต็มความสามารถต่อไป

 

รวมถึงการพัฒนาครูในการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งมีข้อดีคือ ในกรณีที่ขาดแคลนครูก็สามารถใช้วิธีการสอนแบบออนไลน์ได้ อีกทั้งรื้อฟื้นโครงการผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษ (English Teaching Assistant: ETA) และข้อริเริ่ม เพื่อส่งเสริมการศึกษาข้ามชาติ เพื่อต่อยอดการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนอีกด้วย

 

คลิ๊กอ่าน : https://edunewssiam.com/th/articles/288665 สหราชอาณาจักร ฟื้นโครงการผู้ช่วย สอนภาษาอังกฤษ ช่วยศธ.“ตอบโจทย์ "เรียนดี มีความสุข

 

ล่าสุด นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึง 5 ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา ยกระดับทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย จัดทำแพลตฟอร์มเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่รวบรวมคอร์สพัฒนาทักษะ (เช่น คอร์สภาษาอังกฤษ) จากผู้ผลิตเนื้อหาในภาคเอกชนและภาควิชาการ โดยเปิดให้ประชาชนทุกคนเรียนได้ฟรีไม่จำกัด

 

แต่กระนั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสนใจมากนักกับข้อเสนอเท่าใดนัก  

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage