ครูใช้ห้องน้ำร่วมกับนักเรียน มิติใหม่การศึกษาไทยต้องใช้เวลาปรับตัว สุขาดี มีความสุข

 

 

ครูใช้ห้องน้ำร่วมกับนักเรียน มิติใหม่การศึกษาไทยต้องใช้เวลาปรับตัว "สุขาดี มีความสุข"  

 

ขณะนี้เราได้ส่งคณะทำงานลงไปสำรวจในโรงเรียนกลุ่มดังกล่าวแล้ว พบสภาพห้องน้ำชำรุดทรุดโทรม กลอนประตูชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ โดย งบที่สพฐ.จัดสรรให้เพื่อโรงเรียนทาสีห้องน้ำ เปลี่ยนสุขภัณฑ์ รื้อระบบประปาใหม่ อีกทั้งจะไม่แบ่งแยกห้องน้ำครูหรือห้องน้ำนักเรียนแล้ว ... 

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวต้อนรับเปิดเทอมปีการศึกษา 2567 จากโครงการ "สุขาดี มีความสุข" ที่เตรียมจัดสรรงบ 100 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก 9 พันกว่าแห่ง

 

จากนี้ เด็กและครูสามารถใช้ห้องน้ำร่วมกันได้ โดยจะแบ่งแยกแค่เฉพาะห้องน้ำชายและหญิงเท่านั้น ทุกอย่างต้องเท่าเทียม

 

ตามมาด้วยรายงานถึงความคืบหน้าของสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ที่ส่งรายงานผลการสำรวจสภาพห้องน้ำมายังสพฐ. พบไม่ใช่มีเพียงสภาพห้องน้ำชำรุดทรุดโทรมเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องการขอให้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าโรงเรียนด้วย 

 

 

ดังปรากฏในเอกสารถ่ายภาพ ที่ระบุพบว่า การเกิดอัคคีภัยในสถานศึกษาส่วนใหญ่มาจากสาเหตุไฟฟ้าลัดวงจร เนื่องจากระบบไฟของโรงเรียนมีการใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ถือว่าหมดอายุการใช้งานแล้ว มา จึงจำเป็นต้องรื้อปรับปรุงระบบไฟฟ้าใหม่ เพื่อความปลอดภัยของเด็กและบุคลากรในโรงเรียน

 

ทางสพฐ.จึงจัดสรรงบประมาณในหมวดงบดำเนินงานปรับปรุงให้อีก 100 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต่อไปห้องน้ำของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกแห่งทั่วประเทศ เมื่อมีการปรับปรุงซ่อมแซมสุขภัณฑ์ โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ, ประตู ช่องระบายอากาศ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีความปลอดภัย ระบบน้ำประปา ให้เพียงพอ, ระบบไฟฟ้า ไฟแสงสว่างภายในเพียงพอและปลอดภัย  โดยครูและนักเรียนจะใช้ห้องน้ำร่วมกัน

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นประเด็นดราม่าตามมาขณะนั้น คือ นโยบายให้ครูและนักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกัน จนมีความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ด้วยมีความกังวลเรื่องจิตสำนึก ในการรักษาความสะอาดของนักเรียน และการไม่ความเคารพในสิทธิของครู รวมถึงเสนอแนะให้สร้างให้เหมือนกันทั้งครูทั้งนักเรียน แต่ควรแยกกันเป็นกิจลักษณะ ไม่ใช่ให้ใช้ปะปน ซึ่งทาง  สพฐ.และทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้รวบรวมทุกเสียงเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป

 

ซึ่งในที่สุด นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ในลักษณะขอให้ทุกเสียงอย่างเพิ่งใจร้อนด่วนสรุป เนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยทำ ใช่ว่าจะทำไม่ได้ จึงขออนุญาตนำมาให้รับทราบทั่วกัน ขอสรุปความสำคัญ ดังนี้...

 

 

บางท่านก็จะถามว่า คิดได้ยังไงให้เตรียมจัดสรรงบ 100 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก 9 พันกว่าแห่ง เอาอะไรคิด

 

นโยบายให้ครูและนักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกันใช้ร่วมกัน น่าจะเรื่องความสะอาด ครูอยากใช้ห้องน้ำสะอาด แล้วเด็กเขาอยากใช้ ครูรู้จักรักษาความสะอาด แล้วสอนเด็กให้รักษาความสะอาดไปด้วย ก็น่าจะดีที่สองฝ่าย  

 

อีกทั้ง หลายโรงเรียนครูกับนักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกัน ซึ่งบางโรงเรียนสถานที่อาจจะไม่เหมาะ แต่ก็ขอให้รักษามาตรฐานความสะอาดให้ได้ใกล้เคียงกัน โดยให้ห้องน้ำใช้การได้ดี สะอาด ถูกสุขอนามัย ไปห้าง ไปร้านอาหาร เราก็ใช้กับใครก็ได้ ถ้าห้องน้ำสะอาด

 

ฝากไว้ให้คิด ลองทำดู ค่อย ๆ ปรับ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ ดีขึ้น บางโรงเรียนเขาเปลี่ยนแปลงก่อนคำสั่งจะออกแล้วครับ นี่ตัวอย่างเดียว แต่ละโรงเรียนทำตามกำลังความสามารถ

 

 

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ตบท้ายด้วย ปล.ผมฝากให้ดู บางโรงเรียนเขาเปลี่ยนแปลงก่อนคำสั่งจะออกแล้วครับ มีตัวอย่างนะครับ แต่ละโรงเรียนทำตามกำลังความสามารถ

 

ไม่เคยทำ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีคนทำได้นะครับ”...

 

ซึ่งต่อมา มีเสียงที่สนับสนุนให้กำลังใจตามมาที่ว่า โลกสมัยใหม่เปลี่ยนไปแล้ว การให้ครูและนักเรียนใช้ห้องน้ำร่วมกัน อาจเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องใช้เวลาปรับตัว ลองทำดู อาจมีประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และสร้างวินัยของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยกว่าความรู้วิชาการ เช่นกัน

 

 

ตามมาด้วยหลายเสียงจากสถานศึกษาที่ชื่นชมถึง โครงการ "สุขาดี มีความสุข" เป็นโครงการที่ดีต้องขอชื่นชมครับ ท่านรมช. และ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ขอบพระคุณ ที่ใส่ใจในสุขอนามัยของเด็ก ๆ เรื่องห้องน้ำสะอาด หรือไม่สะอาด เราพบเจอกันได้ทั่วไปทุกที่ครับ ประเด็นนี้อาจจะมีปัญหาสำหรับคุณครูบางท่าน แต่หลาย ๆ ท่าน ก็ยินดีใช้ร่วมกับนักเรียนและช่วยกันดูแล