จับตาปลัด ศธ.เคลียร์ปม!พ่อค้าออนไลน์ ฤาเป็นต้นตอเว็บไซต์ ศธ.หายไป?

 

 

จับตาปลัด ศธ.เคลียร์ปม!

"พ่อค้าออนไลน์"

ฤาเป็นต้นตอเว็บไซต์ ศธ.หายไป?

 

คอลัมน์คิดนอกกรอบ คนข่าวการศึกษา 23 ก.ค.2564

email : editor@edunewssiam.com

 

ผู้คนในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะชาวเสมาในรั้ววังจันทรเกษมต่างยังคงติดตามเฝ้าสำรวจตรวจสอบว่า เพราะเหตุใด ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ซึ่งนับเนื่องล่วงเลยมานานร่วมปี เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) www.moe.go.th ก็ยังเสิร์ชหาผ่าน Google ด้วยคำว่า “ศธ.” , “กระทรวงศึกษาธิการ” , หรือแม้แต่ “moe.go.th” ไม่เจอเสียที

กลับยังคงปรากฏโดยเฉพาะสื่อโซเชียลที่ชื่อ ศธ.360 องศา - Home | Facebook , ศธ.360 องศา https://moe360.blog

 


 

 

าวเสมาผู้รู้ให้คำตอบว่า สาเหตุสำคัญที่เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) www.moe.go.th เสิร์ชหาผ่าน Google ไม่เจอ อาจเป็นเพราะปล่อยเว็บไซต์ให้แทบร้าง แทบไม่มีการอัปเดตหรือไม่? เนื่องจาก Google เป็น Search Engine ที่ชื่นชอบเนื้อหาที่มีความสดใหม่ และการอัปเดตข้อมูล/เนื้อหาบนเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ

ฉะนั้น การปล่อยเว็บไซต์ไว้โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ หรือมีแต่เนื้อหาเก่า ๆ เดิม ๆ เหมือนทุกครั้งที่ Google เข้ามาเก็บข้อมูล ก็มีโอกาสที่ Google จะจัดเว็บไซต์ที่หมั่นอัปเดตข้อมูลมากกว่าเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ขึ้นมาแทน

แล้วถ้าเว็บไซต์ กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ณ วันนี้ ยังเสิร์ชหาได้ยาก แทบไม่พบ จะส่งผลเสียหายอย่างไรบ้างหรือไม่?

ผู้รู้ในแวดวงการศึกษาหลายท่านได้ให้คำตอบสอดคล้องกันว่า แน่นอน ย่อมสร้างผลกระทบกับผู้คนจำนวนมากหมายมหาศาลแน่นอน ทั้งประชาชน นักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ ที่ต้องการสืบค้นข้อมูลในหลากหลายด้านที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ อาทิ ข้อมูลของศูนย์กลางข้อมูลด้านการศึกษาสำหรับประชาชนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เปิดบริการให้สอบถามข้อมูลได้ด้วย เช่น ข้อมูลจำนวนนักเรียน นักศึกษา จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวนสถานศึกษา ข้อมูลรายงานการตรวจราชการ ความร่วมมือกับต่างประเทศ กฎ ระเบียบ และนโยบายการศึกษา

รายงานการประเมินผลโลกด้านการศึกษาของยูเนสโก แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ข้อมูลทุน การวิจัยส่งเสริมสนับสนุนการยกระดับคุณภาพการศึกษา รายงานการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์และการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ แผนแม่บทเกี่ยวกับประชากรวัยเรียน ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับสารเสพติดให้โทษ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ล้วนเป็นประโยชน์กับผู้คนหลากหลายกลุ่ม อาทิ นักศึกษาสายครูที่ต้องใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลประกอบการทำสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

ประโยชน์มหาศาลของข้อมูลสำคัญๆ ที่มีผลต่อผู้คนหลากหลายที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์ กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ซึ่งเป็นเครดิตหน่วยงานราชการไทย .go.th เป็น Domain name สำหรับหน่วยงานรัฐบาล และส่วนราชการ กระทรวง หรือหน่วยงานสังกัดรัฐบาลไทย

แล้วเหตุใดหน่วยงานที่รับผิดชอบในนามสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนายสุภัทร จำปาทอง เป็นปลัดกระทรวง จึงยังปล่อยให้เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ณ วันนี้ เสิร์ชหาพบได้ยากยิ่ง หรือแทบหาไม่เจอ

 

 

ณะเดียวกันยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตและคำถามพ่วงตามมาจากผู้คนในกระทรวงศึกษาธิการถึง นายสุภัทร ปลัด ศธ. ด้วยว่า เหตุใด? จึงปล่อยให้ ณ วันนี้ มีการใช้ทรัพยากรหลวง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หลวง งบประมาณหลวง รถหลวง น้ำมันหลวง ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหลวง เพื่อผลิตข่าวสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งข้าราชการประจำและรัฐมนตรี

แต่กลับนำไปเน้นเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านสื่อโซเชียล Facebook ศธ.360 องศา โดยมีการลิ้งค์ให้ไปอ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติมใน https://moe360.blog

 

 

ทั้งๆ ที่ มีการเผยแพร่ข่าวสารเดียวกันในเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ด้วย ในคอลัมน์ ข่าว ศธ.360 องศา

แต่เพราะเหตุใด? จึงไม่เผยแพร่ผ่านลิงค์เนื้อหาที่บันทึกไว้ในเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ออกสู่สื่อโซเชียล Facebook ศธ.360 องศา เพื่อให้เกิดการอัปเดตข่าวสาร ศธ.ใหม่อย่างสม่ำเสมอ ให้ Google Search Engine ได้เข้ามาเก็บข้อมูลเพื่อโอกาสที่ Google จะจัดเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ให้กลับขึ้นมาโดดเด่น เสิร์ชหาพบง่ายดั้งเดิม

 


 

ทำไม? ณ วันนี้ จึงยังคงไปเน้นเผยแพร่ผ่านลิงค์เนื้อหาที่บันทึกไว้ในเว็บบล็อก https://moe360.blog ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีผู้คนในกระทรวงศึกษาธิการต่างตั้งข้อสังเกตเชิงคำถามอย่างมากมายไปยังผู้รับผิดชอบในสำนักงานปลัด ศธ.ให้ออกมายืนยันว่า ทั้ง Facebook ศธ.360 องศา และเว็บบล็อก https://moe360.blog ใช้ชื่อใครเป็นผู้เปิด? และดำเนินการโดยหน่วยงานราชการส่วนใดในกระทรวงศึกษาธิการ?

ทุกวันนี้สถานะของ Facebook ศธ.360 องศา และเว็บบล็อก https://moe360.blog คืออะไร? คือราชการ? หรือเอกชน?

หากเกิดความเสียหายกระทบกับภาพลักษณ์กระทรวงศึกษาธิการ อันเนื่องจาก Facebook ศธ.360 องศา หรือเว็บบล็อก https://moe360.blog เช่นที่ทราบว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการร้องเรียนกล่าวหาไปยังนายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ. ให้สั่งการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงตามข้อครหาที่ว่า มีการหารายได้เกิดขึ้นจากคลิปวิดีโอ จากการไลฟ์สดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งข้าราชการประจำและรัฐมนตรี บน Facebook ศธ.360 องศา จริงหรือไม่??

 

 


 

 

คลิปวิดีโอ : วิธีการส่งดาวในเฟซบุ๊ก | Facebook Stars

(ขอบคุณคลิปวิดีโอรายการ #กิ๊กดู๋ #kikduu #เงาเสียง เผยแพร่เมื่อ 27 ส.ค. 2020)

 

 

 

ถ้าเป็นจริง? โดยมีการใช้ทรัพยากรหลวง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หลวง งบประมาณหลวง รถหลวง น้ำมันหลวง ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหลวง เพื่อดำเนินการในลักษณะดังกล่าวนั้น จะสามารถทำได้หรือไม่? เงินรายได้ดังกล่าวไปเข้ากระเป๋าใคร? ราชการรับเงินรายได้ในลักษณะนี้ได้หรือไม่? หรือเงินเข้ากระเป๋าบุคคล คือใคร? ผิดระเบียบ กฎหมายข้อใดหรือไม่? ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่? ในข้อกล่าวหาใด?

หรือว่าสามารถทำได้โดยไร้ซึ่งความผิดแต่อย่างใด? หน่วยงานราชการสังกัดอื่นอาจจะได้เอาไปเป็นแบบอย่าง?

 

 

รื่องครหาที่เกิดขึ้นนี้สำคัญยิ่ง เพราะเกี่ยวพันกับบรรทัดฐานงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐที่ต้องยึดโยงกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมายทางราชการเหมือนๆ กันทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งนายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ. ในฐานะแม่บ้านกระทรวง จะต้องทำให้เกิดความกระจ่างโดยเร็ว จะปัดกวาดอย่างไร? หรือจะปล่อยให้อึมครึมเป็นที่กังขา ครหาต่อไป?

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกระทรวงสร้างคน? รวมทั้งอาจกระทบถึงเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ต่อไป?

หรือว่า ปลัดฯสุภัทร จำปาทอง จะออกมาการันตีความโปร่งใส ความเป็นราชการโดยแท้ของ Facebook ศธ.360 องศา และเว็บบล็อก https://moe360.blog ก็สุดแล้วแต่ว่า คนใน ศธ.จะคิดเห็นเป็นอย่างไร? จะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไร? และจะดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่...??

ต้องจับตาติดตามอย่าได้กระพริบ...!!

 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)