กมธ. "ยังกั๊ก" งบจัดจ้างภารโรง “บิ๊กอุ้ม”หวั่นลดภาระครู “กระทบ”

 

กมธ. "ยังกั๊ก" งบจัดจ้างภารโรง

“บิ๊กอุ้ม”หวั่นลดภาระครู “กระทบ”

 

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567  ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.เข้าร่วม รายงานความคืบหน้า ผลการประเมิน PISA ในปี 2025 จะดีขึ้นอย่างแน่นอน ผู้บริหารสถานศึกษาไม่ปรับวิธีคิด คณะกรรมาธิการไม่ผ่านงบจ้างภารโรง 

 

อย่างไรก็ตาม ผลการประเมิน PISA เป็นเพียงตัวบ่งชี้หนึ่ง ในการวัดมาตรฐานการศึกษาของประเทศ ซึ่งยังมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการขับเคลื่อนวัดประเมินผลผู้เรียน ทั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งก็อาจจะต้องมีการดำเนินการทบทวนหลายๆเรื่อง เช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต

 

โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปสืบค้นข้อมูล ว่า เพราะเหตุใดผลสอบโอเน็ต จึงไม่แสดงอยู่ในใบระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.1) ซึ่งส่วนตัว รมว.ศธ.ยังมีแนวคิดว่า ให้การสอบโอเน็ตเป็นไปตามความสมัครใจ แต่ก็อยากให้ผลการทดสอบไปแสดงผลในใบ รบ.1 ด้วย

 

ส่วนนักเรียนคนใดที่ไม่สมัครใจสอบโอเน็ต ก็ให้ระบุในใบ รบ.1 ว่า ไม่สมัครใจ เพื่อแสดงผลในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ คงต้องไปดูในภาพรวมเพื่อขับเคลื่อนให้การจัดการศึกษามีมาตรฐานที่สูงขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเชิงลึก โรงเรียนต่าง ๆ ของ สพฐ.มีมาตรฐานการศึกษาที่ดี รมว.ศธ.กล่าวว่า สพฐ.คงต้องลงไปดูว่าปัจจัยของความสำเร็จ คือ อะไร

 

ซึึ่งในเบื้องต้นสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งถ้าเป็นไปตามโจทย์ก็คงต้องมีการปรับวิธีคิด รีสกิล อัพสกิล ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา โดยนำรูปแบบสถานศึกษาที่สามารถดำเนินการได้ดีมาขับเคลื่อน และจากการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า บางโรงเรียน มีระบบการดำเนินการทดสอบยังไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเรื่องการทดสอบ PISA

 

ดังนั้น ขอให้ สพฐ.ไปสำรวจความพร้อม ทั้งสัญญาณอินเตอร์เน็ต หากไม่สามารถรองรับได้ อาจจะต้องปรับ ขยายฐานข้อมูลการจัดเก็บข้อสอบ PISA เพื่อให้รองรับนักเรียนได้ทั่วประเทศ และในทุกสังกัด สามารถเข้ามาทดลองทำข้อสอบ PISA ได้ เพราะโจทย์หนึ่งที่ทำให้ผลคะแนน PISA ต่ำ เพราะเด็กขาดทักษะในการทำข้อสอบ ดังนั้น ต้องให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้" พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าว

 

กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้มีการยกเลิกการอยู่เวรของครู ตามนโยบายที่ไม่ใช้การสอนแล้ว ขณะเดียวกันจะต้องทำให้ครูมีเวลาสอนหนังสือมากขึ้น  และ ศธ.พยายามจะเพิ่มนักการภารโรง ถือเป็นความจำเป็นเพื่อลดภาระครู เพราะมาตรฐานการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ต้องลดภาระให้กับครูที่ผ่านมาสำนักงานประมาณได้เสนอให้ขอใช้งบปี 2567

 

แต่ จากการประสานงานทราบว่า งบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.)

 

อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้จัดทำรายละเอียด เสนอสำนักงบประมาณ พิจารณาขอใช้งบกลางปี 2566 เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการดังกล่าวไปพลางๆก่อน เพื่อให้สามารถจัดจ้างภารโรงได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้จะได้ทันเวลาที่กำหนด

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage