วันส้วมโลก 2023 (World Toilet Day) จาก United Nations (UN) สู่ “สุขาดี มีความสุข” สพฐ.ศธ.

Toilet Logo - Free Vectors & PSDs to Download

 

วันส้วมโลก 2023 (World Toilet Day)

จาก United Nations (UN) สู่

“สุขาดี มีความสุข” สพฐ.ศธ.

 

❝...ในปี 2023 (พ.ศ. 2566) องค์การสหประชาชาติ UN (United Nations) และ องค์การอนามัยโลก (World Health Organizatio) ตลอดจนรัฐบาลของนานาประเทศ ต่างพยายามผลักดัน ร่วมมือกันแก้ปัญหาด้านสุขาภิบาลให้ลดลงยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การมีห้องน้ำและแหล่งน้ำที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)...

 

ในปีดังกล่าว วันส้วมโลก” (World Toilet Day) ใช้สัญลักษณ์ นกฮัมมิงเบิร์ด” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เนื่องจากเป็นนกที่มีเรื่องเล่าของการต่อสู้กับไฟ พวกมันใช้น้ำที่อมไว้ในปาก พยายามดับไฟลงทีละเล็กทีละน้อย จึงเปรียบความพยายามในการแก้ปัญหาแม้จะยาก แต่หากตั้งใจและมีความพยายามเป็นที่ตั้ง ปัญหาก็จะคลี่คลายลงได้

 

Home

World Toilet Day 2023 animation of toilet and bird

 

เมื่อมองย้อนกลับไปที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UN (United Nations) หยิบยกเอาเรื่องราวของ “ห้องน้ำ” ขึ้นเป็นวาระสำคัญของผู้คนทั่วโลก และประกาศให้ ทุกวันที่ 19 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น วันส้วมโลก” หรือ World Toilet Day ในช่วงปี 2544 เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาด้านสุขาภิบาลทั่วโลก

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้ห้องส้วม จะมีพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร แต่มันก็เป็น “เรื่องใหญ่” ของทุกคน เนื่องจากไม่ว่าโลกจะวิวัฒนาการไปไกลแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายเรื่อง “คุณภาพชีวิต” ยังเป็นสิ่งที่สำคัญเสมอ...ย่อมส่งผลต่อสุขอนามัยของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามมาด้วยผลเสีย คือ การเจ็บป่วย ตลอดจนการเสียชีวิตโดยมิอาจคาดเดาได้

 

ดังนั้น จึงเป็นภารกิจที่นานาชาติต้องร่วมมือร่วมแรงกัน เดินหน้าแก้ปัญหา และนำพาภารกิจนี้ไปให้ถึงยังเป้าหมายที่วางเอาไว้ใน ปีคศ. 2030 ให้จงได้

 

A woman goes out of a letrine from UNICEF and 2 kids are cleaning their hands in a sanitation system

 

องค์การสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 19 พ.ย. ของทุกปี เป็นวันส้วมโลก (World Toilet Day; WTD) การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคน”  

 

ด้วยตระหนักถึงปัญหาด้านสุขาภิบาลของคนทั่วโลก ซึ่งพบว่าประชากรโลกมีเกือบ 5,000 ล้านคนที่มีส้วมไม่ได้มาตรฐาน ทั้ง ๆที่การมีส้วมใช้ถือเป็นความจำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 

องค์การสหประชาชาติ พบว่า  ในจำนวนประชากร 7,000 ล้านคน มี 6,000 ล้านคนมีโทรศัพท์มือถือ แต่มี 2,500 ล้านคนไม่มีห้องส้วมใช้ มี 1,100 ล้านคนขับถ่ายในที่สาธารณะ ซึ่งคุกคามต่อการสาธารณสุขโดยรวม

 

อีกทั้ง มีเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก จำนวน 760,000 คน เสียชีวิตจากการท้องเสียท้องร่วงในแต่ละปี ถ้ามีน้ำดื่มที่สะอาดและการอนามัยพื้นฐานที่ดี การเสียชีวิตของเด็ก เหล่านี้ย่อมสามารถหลีกเลี่ยงได้

 

ไม่เพียงเท่านั้น จากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งด้านสุขภาพอนามัยเด็ก และเยาวชน ตลอดจนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ควบคู่ไปกับด้านการศึกษาให้เรียนหนังสือได้โดยไม่หิวหรือเจ็บป่วย 

 

ชุดสูทเด็กชุดการแสดงสำหรับนักเรียนประถมเด็กชายวัย5-12ขวบชุดออกงานเด็ก ...

ภาพประกอบ 

 

พระองค์ท่านทรงพบว่า การจัดหาน้ำดื่มและบริบทสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ จึงทรงให้ความสำคัญและมีพระราชกระแสรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดูแลและบริหารจัดการน้ำดื่มในโรงเรียนอย่างจริงจัง และให้มีส้วมเพียงพอต่อการใช้งาน มีพระราชดำริในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร 

 

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบหลักในการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการ มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยมีโรงเรียนสถานที่เป้าหมายที่สำคัญ

 

แม้ว่ายังไม่บรรลุเป้าหมายและมีความยากต่อการพัฒนา โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล พบปัญหาสำคัญ คือ ความขาดแคลนส้วมในโรงเรียนและสภาพส้วมชำรุดไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่สะอาดมีคราบสกปรก

 

ด้วยข้อจำกัดและการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างและซ่อมบำรุง ทำให้โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลจำนวนไม่น้อย มีห้องส้วมที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เด็กชาย/หญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน หลายห้องมีสภาพทรุดโทรม ผุพัง แตกหัก สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เสื่อมสภาพ กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

 

230+ Floor Samples Woman Store Stock Photos, Pictures & Royalty-Free ...

ภาพประกอบ 

ประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมา ปี พ.ศ.2550 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับห้องน้ำในโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา เทศบาล และกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศ กว่า 10,000 โรงเรียน พบว่า มีห้องน้ำเพียง 15 % ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ในเรื่องของความสะอาด (Heathy) ความเพียงพอ (Accessibility) และความปลอดภัย (Safety) พบว่า

 

ด้านความเพียงพอ : หลายโรงเรียนมีห้องสุขาที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน จึงไม่สามารถแบ่งแยกการใช้งานได้ ทำให้เด็กชายและหญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน และบางโรงเรียนเด็กเล็กระดับอนุบาลไม่มีห้องน้ำเฉพาะที่เหมาะสมกับวัย ต้องใช้ร่วมกับเด็กโต

 

ด้านความปลอดภัย : หลายโรงเรียนสภาพของห้องสุขามีสภาพที่ทรุดโทรม ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ทั้งในเรื่องโครงสร้างที่ผุพัง แตกหัก เสียหาย หลังคาที่ผุพัง ผนังแตกร้าว และประตูเสียหาย สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพไม่ได้รับการซ่อมบำรุงอย่างเหมาะสม ไม่อาจใช้งานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดูแลรักษาความสะอาด ทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

 

ด้านความสะอาด : ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากอายุการใช้งานของห้องสุขา นอกจากอายุการใช้งานและความเสื่อมโทรมทำให้ยากต่อการดูแลและรักษาความสะอาดแล้ว บางโรงเรียนมีปัญหาเรื่องของระบบน้ำใช้ในจุดห้องสุขา เมื่อเจอปัญหาขาดแคลนน้ำก็นำไปสู่ปัญหาความสะอาด ที่รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้และห้องสุขาสาธารณะอย่างถูกวิธี

 

สาเหตุหลักของปัญหาห้องสุขาในโรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกล คือ นอกจากขาดแคลนงบประมาณแลัว ห้องสุขามักจะเป็นลำดับท้าย ๆ ในการถูกนำมาเพื่อปรับปรุง/ซ่อมบำรุงสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีมาตรฐานหรือจัดสร้างให้เพียงพอ ไม่ว่าในด้านภูมิทัศน์ที่ดีรอบ ๆ บริเวณ พฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม การปลูกฝังสุขอนามัยพื้นฐานจากการใช้อย่างถูกวิธี ขาดความเข้าใจ ใส่ใจ และร่วมกันดูแลรักษาห้องสุขารวมที่จริงจัง

 

 

ดังนั้น การมีห้องน้ำ ห้องส้วม ที่สะอาดและปลอดภัย โครงการ “สุขาดี มีความสุข” ตาม นโยบาย “เรียนดีมีความสุข” ของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ และ การจัดสรรงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนให้ จำนวน 100 ล้านบาท ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ของ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับนักเรียนและบุคลากร ทั้งทำให้สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความสุข อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย”

 

  

นอกจากนี้ โครงการ “สุขาดี มีความสุข” ยังเป็นการสนองพระราชดำริ ฯ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และเป็นการขานรับองค์การสหประชาชาติ UN และ WHO ตลอดจนนานาประเทศ รวมถึงรัฐบาลที่พยายามผลักดันแก้ปัญหาด้านสุขาภิบาลให้ลดลงยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การมีห้องน้ำและแหล่งน้ำที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573)