เมื่อนักประชาสัมพันธ์แปลงร่างเป็นพ่อค้าออนไลน์ เว็บไซต์ ศธ.ก็หายไป?

 

เมื่อนักประชาสัมพันธ์แปลงร่าง

เป็นพ่อค้าออนไลน์

เว็บไซต์กลาง ศธ. www.moe.go.th ก็หายไป?

 

คิดนอกกรอบ : คนข่าวการศึกษา 12 ก.ค.2564

email : editor@edunewssiam.com

 

"ตามหา! เว็บไซต์กลาง ศธ. www.moe.go.th หายไปไหน?" ยังคงเป็นประเด็นคำถามของบรรดาคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาในโซเชียลกลุ่มคนแวดวงการศึกษากลุ่มต่างๆ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลทั่วไป ที่ต้องการเสิร์ชหาเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

เพราะ ณ วันนี้ แม้จะเสิร์ชหาผ่าน Google ด้วยคำว่า “ศธ.” หรือ “กระทรวงศึกษาธิการ” ก็ยังหาไม่เจอเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ “www.moe.go.th”

กลับยังปรากฏสื่อโซเชียลชื่อ ศธ.360 องศา - Home | Facebook , ศธ.360 องศา https://moe360.blog , กระทรวงศึกษาธิการ-Home | Facebook , กระทรวงศึกษาธิการ–เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ , หน้าหลัก - ops สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

ม้จะมีกระแสข่าวว่า ภายหลังจากที่ สำนักข่าวการศึกษาออนไลน์ EdunewsSiam.com ได้นำเสนอเรื่อง “ตามหา! เว็บไซต์กลาง ศธ. www.moe.go.th หายไปไหน?” นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเรียกผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด ศธ. มาสอบถามเพื่อให้หายสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นกับเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th หายไปไหน?

ทั้งที่เป็นเว็บไซต์กระทรวง เป็นเครดิตหน่วยงานราชการไทย .go.th เป็น Domain name สำหรับหน่วยงานรัฐบาล และส่วนราชการ กระทรวง หรือหน่วยงานสังกัดรัฐบาลไทย ซึ่งหากคุณครู บุคลากรการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนทั่วไป ไม่สามารถเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ ก็ย่อมกระทบถึงภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของกระทรวงศึกษาธิการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ ณ วันนี้ เว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ก็ยังเข้าถึงได้ยากอยู่ดี กว่าจะเสิร์ชหาเจอ โดย Google ยังคงปรากฏรายการชื่อสื่อโซเชียลทั้ง ศธ.360 องศา - Home | Facebook , ศธ.360 องศา https://moe360.blog , กระทรวงศึกษาธิการ-Home | Facebook , กระทรวงศึกษาธิการ–เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ , หน้าหลัก - ops สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่นเดิม

 

 

 

และแม้ว่าใครๆ จะพยายามจนเปิดเข้าเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ได้ ก็คงต่างมีความรู้สึกพ้องกันถึงความไม่สมบูรณ์แบบของความเป็นเว็บไซต์ระดับกระทรวง ทั้งรูปลักษณ์ ความล่าช้าของข้อมูลประชาสัมพันธ์ภารกิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ที่จะเห็นเปลี่ยนแปลงไปแค่เพียงจุดเดียว คือการเติมชื่อ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนปัจจุบัน ??

 

 

 

ล่าสุด สำนักข่าวการศึกษาออนไลน์ EdunewsSiam.com ได้รับข้อมูลจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะมีการตั้งข้อสังเกตและคำถามเกี่ยวข้องกับเรื่องความถูกต้องในการทำงาน?, การใช้งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนที่ถูกต้องและคุ้มค่าหรือไม่?, เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ของแต่ละแท่งองค์กรบริหารหลักใน ศธ.หรือไม่? และที่สำคัญอาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเสิร์ชหาไม่พบเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่?

จึงเป็นเรื่องที่ น.ส.ตรีนุช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสุภัทร ปลัด ศธ. ควรต้องสั่งการตรวจสอบให้เกิดความกระจ่าง โปร่งใส ที่สำคัญเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้?

 

 

 

จากข้อมูลว่ากันว่า ทุกวันนี้พบเห็นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะภารกิจรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. และข้าราชการระดับสูงในสังกัดสำนักงานปลัด ศธ. ผ่านสื่อโซเชียล Facebook ศธ.360 องศา รวมถึงเว็บบล็อก ศธ.360 โดยข่าวสารที่โพสต์ใน Facebook ศธ.360 องศา มีการลิ้งค์ให้ไปอ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติมใน https://moe360.blog ด้วย แต่ไม่ลิ้งค์เข้าเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th เพราะเหตุใด?

โดยไม่แน่ชัดว่า ทั้งเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 นั้น ได้เปิดในนามราชการ หน่วยงาน สป.ศธ.หรือไม่? และได้รับการยอมรับจากราชการหน่วยงาน สป.ศธ.อย่างเป็นทางการหรือไม่? มีการสนับสนุนการทำงานและงบประมาณในการดำเนินงานเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 หรือไม่? หรือว่าเปิดในนามบุคคลส่วนตัว??

หากเกิดปัญหากับข่าวสารกระทรวงศึกษาธิการที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 อาทิ มีการวิพากษ์วิจารณ์ต่อท้ายกระทบถึงผู้บริหารระดับสูง กระทบถึงภาพลักษณ์กระทรวง แล้วใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะหน่วยงานราชการใน ศธ.

มีคำถามกันมากว่า เพราะเหตุใดข่าวสารประชาสัมพันธ์กระทรวงศึกษาธิการ จึงไม่ถูกแชร์ออกมาจากเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ? ทั้งที่เป็นเครดิตหน่วยงานราชการไทยที่ควรได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าการแชร์ออกมาจากเว็บบล็อก ศธ.360 หรือเฟซบุ๊ก ศธ.360 ด้วยซ้ำ

ทั้งยังส่งผลทำให้การเสิร์ชหาเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ เข้าถึงได้ยากยิ่งขึ้นไปด้วยหรือไม่? เนื่องจากไม่ได้ลิ้งค์ไปถึงให้ครู บุคลากรการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้เปิดใช้บริการบ่อยๆ

และที่สำคัญมีการตั้งข้อสังเกตและคำถามกันมากด้วยว่า มีการใช้งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการมาจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารภารกิจของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่?? แล้วเหตุใดไม่ให้เครดิตเผยแพร่ในนามเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th แต่กลับไปเน้นเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360?? เพราะเหตุใด

หรือต้องการจะสร้างอาณาจักรของตนเอง เพื่อประโยชน์ประการใดหรือไม่ อย่างไร??

 

 

อกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า ข่าวสารประชาสัมพันธ์กระทรวงศึกษาธิการที่มีการโพสต์ผ่าน Facebook ศธ.360 องศา มีการใช้งบประมาณ “Boost Post” และมีค่าใช้จ่ายไปในการดำเนินกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้ผู้คนในเฟซบุ๊กได้เห็นข่าวและติดตามกันมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร?

หากมีการจ่ายเงิน ถามว่าราชการใช้งบประมาณเพื่อ “Boost Post” ข่าว หรือใช้จ่ายไปในการดำเนินกลยุทธ์การตลาดในลักษณะนี้ได้หรือไม่ อย่างไร? หรือมีการซ่อนงบประมาณเพื่อ “Boost Post” ข่าว และใช้จ่ายในการดำเนินกลยุทธ์การตลาด แฝงไปในโครงการจ้างเอกชนประชาสัมพันธ์งานใดหรือไม่ อย่างไร??

 

 

นื่องจากปรากฏมีการดำเนินกลยุทธ์การตลาดคล้ายพ่อค้าออนไลน์ อ้างโฆษณาเชิญชวนจาก “ศธ.360องศา” มีข้อความในทำนองว่า

“ใกล้จะมียอดผู้ติดตาม 5 หมื่นคนล่ะ ใครเป็น "แฟนตัวยง" รายแรกของเพจเล็กๆ แห่งนี้ เราจะมอบเสื้อโปโล "ศธ.360 องศา" พร้อมกระเป๋าผ้าแปะโลโก้ "ศธ.360 องศา" และหนังสือที่ ศธ.จัดพิมพ์ เช่น จันทรเกษม, 127 ปี ศธ., ร้อยเรื่องเล่าเรา MOE และในโอกาสพิเศษสุดต่อๆ ไป

update: ตอนนี้ได้แฟนตัวยงรายแรกแล้วนะครับ และขอให้รักษายอดไว้ด้วยนะครับ และจะขอเพิ่มเติมสำหรับ "แฟนตัวยง" อีก 5 ราย หากเกินจะใช้วิธีจับสลาก โดยจะส่งเสื้อโปโล "ศธ.360 องศา" ให้ถึงบ้าน

ขอบคุณทุกท่านที่กดไลค์ หรือติดตามเพจ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ หรือให้ข้อคิดเห็นต่อๆ ไปด้วยนะ”

 

 

ทั้งนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การโพสต์ข่าวใน Facebook ศธ.360 องศา รวมถึงเว็บบล็อก ศธ.360 มีการนำข่าวสารในความดูแลรับผิดชอบขององค์กรบริหารหลักใน ศธ.อื่นๆ มาโพสต์ด้วย จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาในทำนองว่า

"เป็นการแย่งซีน ขโมยซีนผลงาน ของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ขององค์กรบริหารหลักเหล่านั้นหรือไม่? ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรบริหารหลักเหล่านั้นจะมีมุมมองต่อผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในองค์กรอย่างไร?"

 

 

 

ท้ายสุดหากว่า ทั้งเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 ไม่ได้เปิดในนามราชการหน่วยงานใน ศธ. หรือไม่ได้รับการยอมรับหรือให้การสนับสนุนจากราชการหน่วยงานใน ศธ.อย่างเป็นทางการ (เพราะจริงๆ แล้วเฟซบุ๊กที่เปิดโดย ศธ.ก็มีอยู่แล้ว) แต่เปิดในนามบุคคลส่วนตัว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใดอยู่เบื้องหลังหรือไม่? ก็ตาม

ย่อมไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง โดยเฉพาะหากว่าการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ข่าวสารกระทรวงศึกษาธิการที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 ไปส่งผลกระทบด้อยค่าเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th? จนเสิร์ชหาเข้าถึงได้ยาก

เฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการใช้งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการจำนวนมากมาจัดซื้อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ แต่กลับมาผลิตข่าวสารเพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 ??

อีกทั้ง ที่สำคัญ! หากว่าเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 เปิดในนามบุคคลส่วนตัวจริง? โดยที่ไม่ใช่ภาระหน้าที่ทางราชการของบุคลากรหน่วยงานใด หรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานต้นสังกัดไม่ได้มอบหมายเป็นทางการ ให้เป็นงานประจำต่อเนื่อง แล้วผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินงานเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 ในขณะนี้ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในสถานะ เช่น โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ เกษียณฯ

แล้วจะมีใครเข้ามาดำเนินงานเฟซบุ๊ก ศธ.360 และเว็บบล็อก ศธ.360 ต่อหรือไม่? หรือจะค่อยๆ ปล่อยให้เงียบหายไปในทำนองเดียวกับเว็บไซต์กลางกระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th ในเวลานี้...!!

 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)