เดือด ‘ตรีนุช-สุภัทร’ เชื่องช้า-ปิดเงียบ ‘คัดเลือก ขรก.บริหารต้น ศธ.’ 15 ตน.

 

เดือด ‘ตรีนุช-สุภัทร’ เชื่องช้า-ปิดเงียบ

‘คัดเลือก ขรก.บริหารต้น’ 15 ตน.

ลั่นเกษียณฯแล้วไม่มาเหยียบ ศธ.อีก!

 

กลุ่มข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น สังกัด ศธ.ที่ว่างอยู่ 15 ตำแหน่ง จำนวนหนึ่งได้ร้องเรียนผ่านสำนักข่าวการศึกษาออนไลน์ EdunewsSiam.com เพื่อขอให้สะท้อนไปถึง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. และนายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ. โดยเรียกร้องให้ออกมาแถลงหรือออกประกาศ ศธ. แจ้งความคืบหน้าอย่างเป็นทางการให้กับผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งต่างๆ ได้รับทราบ ไม่ใช่ปล่อยเงียบหายไปอย่างไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้ โดยเฉพาะเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์และขวัญกำลังใจของข้าราชการที่ใกล้จะเกษียณฯในอีก 2 เดือนข้างหน้านี้

 

 

 

ข้าราชการ ศธ.ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯคนหนึ่ง กล่าวว่า ตนทราบเรื่องการคัดเลือกฯอย่างเป็นทางการจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยนายสุภัทร ปลัด ศธ. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เพราะมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งตามกฎหมาย ครั้งล่าสุดเมื่อตอนที่นายสุภัทรลงนามในประกาศ ศธ.เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 เลื่อนกำหนดสัมภาษณ์ช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม 2564 ออกไป โดนอ้างเหตุมีกรรมการคัดเลือกฯ (ชุดที่มีนายกฤตชัย อรุณรัตน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. เป็นประธาน) บางรายติดภารกิจเร่งด่วน

ซึ่งในช่วงเวลานั้น ข้าราชการผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯหลายคนต่างวิพากษ์วิจารณ์ตั้งข้อสังเกตกันว่า มีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลังหรือไม่? เพราะกระบวนการในช่วงขณะนั้นเดินทางมาค่อนข้างรวดเร็ว โดยนายสุภัทรได้ลงนามแจ้งประกาศรับสมัครวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธธ์-3 มีนาคม 2564 ต่อมาลงนามในประกาศ วันที่ 10 มีนาคม 2564 แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ และกำหนดวันสัมภาษณ์) ช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม 2564 ก่อนที่นายสุภัทรจะลงนามในประกาศ ศธ.เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 เลื่อนกำหนดสัมภาษณ์ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

 

 

 

และนับจากที่มีการเปลี่ยนผ่านผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ. จากนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ มาเป็น น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ข่าวคราวเรื่องความคืบหน้าการคัดเลือกฯอย่างเป็นทางการที่ปลัด ศธ. หรือ น.ส.ตรีนุช รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ควรแจ้งให้ข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับคัดเลือกฯได้รับทราบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ก็กลับเงียบหายไป ปล่อยให้มีกระแสข่าวลือต่างๆ นานาเกี่ยวกับคณะกรรมการคัดเลือกฯ

บ้างก็ว่ามีการเปลี่ยนชุดคณะกรรมการคัดเลือกชุดใหม่ จากชุดที่มีนายกฤตชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. เป็นประธาน มาเป็นชุดที่มีชื่อนายไพบูลย์ เสียงก้อง คณะที่ปรึกษาของนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. (อดีตรองปลัด ศธ. และอดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด) เป็นประธาน

ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เพิ่งมีการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของ นางสาวตรีนุช รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ว่าที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ศธ. ได้แต่งตั้งนายไพบูลย์ เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ แทนชุดเก่าหลังหมดวาระไปเมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกันมีกระแสข่าวลืออีกว่า นายไพบูลย์ได้ขอลาออกจากการเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ เนื่องจากมีเสียงท้วงติงตามมามากมายจากคนในแวดวง ศธ. เกรงว่าผลการคัดเลือกจะเกิดเสียงครหาเรื่องความไม่เป็นกลางตามมาหรือไม่?

ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวมโนอ้างเอาเองว่า วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 นายไพบูลย์จะเชิญต้นสังกัดเจ้าของตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นเข้าร่วมประชุม เพื่อนัดหมายกระบวนการคัดเลือกโดยการสัมภาษณ์ต่อไป

ท่ามกลางความกังขาของผู้คนในแวดวง ศธ.ที่เข้าใจระบบการบริหารราชการว่า นายไพบูลย์มีสิทธิเชิญประชุมต้นสังกัดเจ้าของตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นด้วยหรือ?

กระทั่งมีกระแสข่าวมโนกล่าวอ้างเอาเองตามมาอีกจนสร้างความสับสน โดยอ้างว่า การประชุมระหว่างนายไพบูลย์กับต้นสังกัดเจ้าของตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมมีมติว่าให้เลื่อนการคัดเลือกฯออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 จะคลี่คลาย

โดยปราศจากการสัมภาษณ์และรูปภาพในที่ประชุมยืนยัน อีกทั้งยังแตกต่างจากข่าวมโนก่อนหน้านั้นที่อ้างว่า “นายไพบูลย์เชิญประชุมเพื่อนัดหมายกระบวนการคัดเลือกโดยการสัมภาษณ์ต่อไป”

กระแสข่าวที่สร้างความสับสนเหล่านี้ ยิ่งบั่นทอนขวัญกำลังใจของข้าราชการผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการที่กำลังจะเกษียณฯราว 10 กว่าคน ซึ่งต้องการทราบข่าวความคืบหน้าอย่างเป็นทางการจากนายสุภัทร ปลัด ศธ.และ น.ส.ตรีนุช รัฐมนตรีว่าการ ศธ.

โดยเฉพาะต้องการทราบเหตุผลความล่าช้าที่แท้จริง เพื่อคลายความรู้สึกที่กำลังมองว่า ถูกผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งหรือไม่? ต้องการกีดกันข้าราชการที่กำลังจะเกษียณฯในอีก 2 เดือนให้เกษียณฯออกไปก่อนหรือไม่? อย่างไร?

มีผู้อำนวยการสูงที่กำลังจะเกษียณฯบางคน ถึงกับเอ่ยปากด้วยความเจ็บใจว่า เกษียณฯไปแล้วจะไม่กลับมาเหยียบในรั้ว ศธ.อีกต่อไป”

ข้าราชการ ศธ.ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯคนเดิม กล่าวต่อว่า ความรับผิดชอบต่อขวัญกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการแจ้งข่าวสารโดยเฉพาะเรื่องสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบอย่างตรงไปตรงมานั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

กรณีที่ผู้บังคับบัญชาลงนามในประกาศ สอศ.แจ้งชัดเจนให้ผู้มีรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯให้ดำรงตำแหน่งระดับทรงคุณวุฒิ ได้รับทราบว่า กำหนดวัน เวลา และสถานที่สัมภาษณ์ จะแจ้งให้ทราบภายหลังอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้ กทม.อยู่ในพื้นที่การบังคับใช้มาตรการควบคุมเข้มของ ศบค. โดยที่ไม่ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปคิดเดากันเอาเองว่า จะคัดเลือกกันเมื่อไหร่?

 

 

ข้าราชการ ศธ.ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ กล่าวด้วยว่า ตำแหน่งนักบริหาร ระดับต้น รวม 15 ตำแหน่ง ที่กำลังรอการพิจารณาคัดเลือก หลังล่าช้ามากว่า 4 เดือนแล้วดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานราชการ กลายเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนางาน และอาจสร้างความเสียหายแก่ทางราชการในหลากหลายกรม กอง

โดยเฉพาะในตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ตำแหน่ง และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ตำแหน่ง ซึ่งหลายเดือนมาแล้วที่เลขาธิการ กศน.ต้องทำงานบริหารคนเดียว โดยไม่มีรองเลขาธิการ กศน.มาช่วยกันขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะการสนองงานตามนโยบายของรัฐมนตรี และรัฐบาล

"ปัญหาดังกล่าวนี้ นายสุภัทรน่าจะได้รับรู้อยู่บ้าง เพราะเป็นหัวหน้าส่วนราชการของทั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงาน กศน." ข้าราชการ ศธ.ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ กล่าว

สำหรับตำแหน่งนักบริหาร ระดับต้น รวม 15 ตำแหน่ง และรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในแต่ละตำแหน่ง มีรายละเอียดดังนี้

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) 1 ตำแหน่ง, ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) 1 ตำแหน่ง, ผู้ช่วยปลัด ศธ. 1 ตำแหน่ง, รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) 1 ตำแหน่ง

รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) 2 ตำแหน่ง, รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 3 ตำแหน่ง, รองศึกษาธิการภาค (ศธภ.) 2, รอง ศธภ.5, รอง ศธภ.6, รองศึ ศธภ.10, รอง ศธภ.13 และ รอง ศธภ.17

ส่วนรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการ กอศ. ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยปลัด ศธ. ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ กช. ทั้ง ตำแหน่ง ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ กศน. ทั้ง ตำแหน่ง ประกอบด้วย

 

 

สำหรับรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 2 ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 5 ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 6 ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 10 ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 13 ประกอบด้วย

 

รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค 17 ประกอบด้วย

 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)