พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณี

 

 

เปิดภาพพระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณีมีที่มาน่าศึกษา สวยงามด้วยการตกแต่งแบบโบราณ 

 

 
พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณีจัดเข้าประเภทพระสมเด็จพิมพ์วัง และเข้ากรุพระธาตุพนม (จำลอง) ที่ประดับด้วยหินสี ลูกปัด และอัญมณีต่างๆ มีความสวยงามแบบโบราณและน่าสะสม

 

 
พระสมเด็จประเภทพิมพ์วังที่พ่อของผู้เขียนได้สะสมและศึกษานั้น นอกจากมีพระสมเด็จที่ประดับด้วยอัญมณีต่างๆ ในบทความที่ผ่านมาแล้วนั้น ยังมีประเภทที่ประดับด้วยอัญมณีเล็กๆ เหมือนพระสมเด็จชุดนี้ด้วย

  
พระสมเด็จ สายวังน่าสะสม เพราะดูสวยงามและมีที่มาที่น่าสนใจนั่นคือเหตุผลที่พ่อผู้เขียนได้สะสมพระสมเด็จสายวังอยู่ประมาณหนึ่ง เพื่อศึกษา สำหรับพระสมเด็จชุดนี้เองเข้ากรุพระธาตุพนม (จำลอง) และจากที่ผู้เขียนหาข้อมูลมา ก็พบว่ามีสมาชิกในชมรมอนุรักษ์พระเครื่องสายวังและพระสมเด็จโตตามตำรา(สายทางเลือก) สะสมและศึกษาพระสมเด็จสายวังอยู่มากมายเช่นกัน และมีพิมพ์ต่างๆ ที่สวยงามแตกต่างกันไป 

 พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนมจำลอง 

 

พระสมเด็จกรุพระธาตุพนม (จำลอง)

 

จากข้อมูลของ นพ.ฐิติกร พุทธรักษา ที่รวมรวมข้อมูลไว้ในสถาบันพุทธรักษา บอกเอาไว้ว่า พระธาตุพนม (จำลอง)  ได้สร้างขึ้นในพื้นที่ของวังหน้า โดยสร้างไว้ที่หน้าวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานมงคลซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ สร้างไว้เพื่อให้เจ้ากรมพระบวรสถานมงคลทุกพระองค์​ประกอบพิธีทางศาสนา ที่ตั้งของวังหน้าในปัจจุบัน​นี้ คือกรมศิลปากรและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ส่วนวัดพระแก้ววังหน้า คือวัดบวรสถานสุทธาวาสอยู่ถัดจากโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน 


ในปี พ.ศ.
2401 ได้มีการสร้างพระธาตุพนม (จำลอง) ​ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของวัดพระแก้ววังหน้า โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่​ 4​ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต​ พรหมรังสี​ เป็นผู้จัดสร้างขึ้นเพื่อนำพระต่างๆมาบรรจุลงในเจดีย์ที่จัดสร้างขึ้นคล้ายกับพระธาตุพนมองค์จริงที่จังหวัด​นครพนม​ 

 

พระสมเด็จกรุพระธาตุพนม (จำลอง) มีการสร้างไว้ 3 แบบ คือ

1.พระสมเด็จเนื้อผงประดับลูกปัด และอัญมณี

2.พระสมเด็จด้านหลังจารึกแผ่นทอง

3.พระสมเด็จเนื้อหยก

ทางฝั่ง ดร.ณัฐนนต์ สิปปภากุล ผู้เขียนบล็อกพระเครื่องเรื่องใหญ่ ที่พ่อขอผู้เขียนได้นำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและสะสมนั้น บอกเอาไว้ว่า พระสมเด็จสายวัง (วังหลวง วังหน้า วังหลัง) เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพลังพุทธานุภาพ และพลานุภาพสูงสุดนับตั้งแต่ที่ค้นพบมา (ปี 2554) ซึ่งนับเป็นเรื่องอจินไตย


นอกจากนี้ ดร.ณัฐนนต์ ก็มีพระสมเด็จที่ประดับอัญมณี โลหิตธาตุ ฯลฯ ที่เข้าสายวังอีกจำนวนหนึ่งเพื่อศึกษา

 

สำหรับสายจับพลัง หรือสายพลังพุทธคุณเองนั้นเมื่อได้จับพลังของพระสมเด็จแล้วนั้นก็จะปรากฏพลังมหาศาลวิ่งออกมาจากพระองค์นั้น กลายเป็นพลังไร้ขีดจำกัดแบบมหัศจรรย์แทบทั้งสิ้น

 

พระสมเด็จพิมพ์วังหลวง พระพิมพ์วังหน้า ควบคุมและออกแบบโดยกรมช่างสิบหมู่

 
ทั้งข้อมูลของ นพ.ฐิติกร และ ดร.ณัฐนนต์ ให้ข้อมูลเช่นเดียวกันว่า พระสมเด็จพิมพ์วังหลวง พระพิมพ์วังหน้า ควบคุมและออกแบบโดยกรมช่างสิบหมู่ โดยกรมช่างสิบหมู่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี หรือภูมินทรภักดีผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่สมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ซึ่งกรมหมื่นภูมินทรภักดี ทรงรับราชการกำกับกรมช่างสิบหมู่ คอยออกแบบ และ กำกับดูแล การออกแบบ พระสมเด็จ วังหลวง วังหน้า และท่านก็มีอิทธิพลในการออกแบบพิมพ์พระสมเด็จ จนเจ้าประคุณสมเด็จโต สิ้นชีพิตักษัย ในปี 2415


สมัยก่อนช่างไทยมีมากกว่า
10 หมู่ แต่ที่เรียกว่า ช่างสิบหมู่ ก็เพื่อรวมช่างในหมวดสำคัญๆ เอาไว้ก่อน และต่อมาได้แตกแขนงไปตามลักษณะของงานนั้นๆ เช่น ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างไม้สำเภา ช่างปืน ช่างสนะ(จีน) ช่างสนะ (ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างรัก ช่างมุก ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างปูน ช่างหุงกระจก ช่างประดับกระจก ช่างหยก ช่างชาดสีสุก ช่างดีบุก ช่างต่อกำปั่น ช่างทอง

 
พระสมเด็จ พิมพ์วังกรุพระธาตุพนม (จำลอง) ของท่านผู้สะสมและศึกษาพระสมเด็จ

 
ภาพพระสมเด็จที่พิมพ์วัง ของ ดร.ณัฐนนต์ 

 

พระสมเด็จ สายวัง

พระสมเด็จ สายวัง

 

ภาพพระสมเด็จ พระธาตุพนม จากเพจพระสกุลวัง พระสมเด็จโต

พระสมเด็จ สายวัง

สมเด็จพระธาตุพนม เม็ดมวลสารพระสี

พระสมเด็จ สายวัง

พระสมเด็จ สายวัง

มวลสารและผงวิเศษในพระสมเด็จ ตามตำรา อ.ตรียัมปวาย

จากข้อมูลในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ พระสมเด็จฯ ของ  อ.ตรียัมปวาย  ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับมวลสารและผงวิเศษที่ผสมลงในการสร้างพระสมเด็จ ไว้ว่า

 

ผงวิเศษ 5 ประการ

ประกอบด้วยผงดินสอพองเป็นส่วนใหญ่ ผสมด้วย ดินโป่ง ดินตีนท่า ดินหลักเมือง เถ้าไส้เทียนในพระอุโบสถ ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ไคลเสมา ไคลประตูเมือง ไคลประตูพระบรมมหาราชวัง ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ราชพฤกษ์ พลูร่วมใจ พลูสองหาง กระแจะตะนาว และน้ำมันหอมเจ็ดรส ตามมูลสูตรกรรมวิธีผงวิเศษ อิทธิวัสดุเหล่านี้สมเด็จฯ เอามาปั้นเป็นแท่งดินสอวรรณเหลืองหม่น ใช้ในการเขียนสูตร อักขระ เลข ยันต์ เป็นผงวิเศษทั้ง 5 ประการ ซึ่งเป็นอิทธิวัสดุหลักในเนื้อพระสมเด็จฯ ช่วยให้มวลสารเกิดความนุ่มและความซึ้ง 

 

ผงใบลานเผา

ผงถ่านของใบลานจารึกอักษร เลขยันต์ และสูตรต่างๆ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จารสูตรพุทธาคมและอักขระเลขยันต์ต่างๆ ลงในใบลาน แล้วสุมไฟ เก็บรวบรวมใบลานเผานั้นมาสร้างพระสมเด็จ

 

เกสรดอกไม้

เป็นเกสรดอกไม้นานาพรรณตามบุราณคติการสร้างพระเครื่อง ได้แก่ เกสรบัวทั้งห้า คือ ปุณฑริก หรือ โกมุท นิโลบล สัตตบงกต สัตบรรณ ปัทมะ (บัวขาวหรือบัวเผื่อน บัวเขียว บัวแดง บัวขาบ บัวหลวง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัวบูชาพระประธานในพระอุโบสถ นอกนั้นจะเป็นเกสรบุปผชาติต่างๆ เช่น พุทธรักษา สารภี ยี่สุ่น พิกุล บุนนาค กาหลง ชงโค คัดเค้า รักซ้อน ฯลฯ นำมาตากแห้งแล้วบดผสมเนื้อพระ

 

เนื้อว่าน 108

เป็นหัวว่านป่านานาชนิด คติโบราณถือว่ามีคุณมหัศจรรย์ เช่น พระเจ้าห้าพระองค์ ว่านมหาเศรษฐี มหาวนชัยมงคล เสน่ห์จันทน์ ฉิมพลี นางคำ นางล้อม สี่ทิศ พญาลิ้นงู หนังแห้ง คางคก กระบือชนเสือ ไพลดำ หอมแดง สบู่เลือด ฯลฯ

 

ทรายเงิน ทรายทอง

คือ ผงตะไบของแผ่นเงินแผ่นทอง ที่ลงอักขระเลขยันต์และสูตรต่างๆ สำหรับการสร้างพระ มักลงท้ายด้วย พระยันต์ 108 และ นะ ปถัง 14 เอามาผสมในเนื้อพระสมเด็จ 

 

น้ำมันจันทน์

ได้แก่  น้ำมันจันทน์หอมพระพุทธมนต์ ซึ่งสำเร็จด้วยการปลุกเสกพระพุทธคุณ 108 เป็นน้ำมันที่สกัดจากไม้จันทน์หอม และไม้เนื้อหอม 7 ชนิด เรียกว่า น้ำมัน 7 รส เป็นตัวประสานมวลสาร เช่นเดียวกับน้ำมันตังอิ๊ว

 

เถ้าธูป

เป็นเถ้าธูปที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รวบรวมไว้จากกระถางธูปที่บูชาพระของท่าน และจากที่บูชาในพระอุโบสถ แล้วนำมากรองให้ละเอียด ผสมกับเนื้อพระ

 

และมวลสารทั้งหมดนี้เมื่อผสมเข้ากันจะทำให้เนื้อพระสมเด็จเกิดความนุ่มและความซึ้ง ยิ่งผ่านกาลเวลานานเท่าไหร่ ความนุ่มและความซึ่งที่ปรากฏนั้นก็จะยิ่งชัดเจน เมื่อส่องแล้วดูสบายตา นุ่มนวล 

 

ส่วน มวลสารและผงวิเศษ จากหนังสือหลักสูตรการศึกษาพระเครื่องพระสมเด็จ โดยสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโตกล่าวถึง ผงและมวลสาร ของพระสมเด็จ ประกอบไปด้วย มวลสารหลักคือ ปูนเปลือกหอย เป็นหลัก ผสมเข้ากับมวลสารและผงวิเศษอื่นๆ ที่มีคุณวิเศษมากมาย ดังนี้

 

1. ปูนเปลือกหอยที่ตำในครก ผ่านตระแกรงร่อนจนได้ผงขาวละเอียด หินปูน ปูนเพชร 

2. ผงพุทธคุณทั้ง

- ผงกฤติยาคม อนุภาพในทางแคล้วคลาดปลอดภัย

- ผงปถมัง อานุภาพคงกระพันชาตรี

- ผงอิทธิเจ อานุภาพทางเมตตามหานิยม

- ผงตรีนิสิงเห อนุภาพทางมหาเสน่ห์

- ผงมหาราช อนุภาพทางเสริมอำนาจ บารมี

3. ไม้มงคลต่างๆ ว่านเกษร 108

4. ดินมงคลจากที่ต่างๆ เช่น ดินเจ็ดป่า เจ็ดโป่ง ดินหลักเมือง

5. ทรายเงิน ทรายทอง

6. ผงถ่าน คำภีร์ใบลานจารที่ชำรุด นำมาตากแห้งและเผา 

7. กระยาหารต่างๆ เช่น ข้าวสุก กล้วย ขนุนสุก 

8. เกสรดอกไม้

9. น้ำพุทธมนต์

10. น้ำอ้อยเคี่ยว น้้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ๊ว 

11. เศษพระกำแพงหัก

12. พระธาตุ แร่ รัตนชาติ

13. ฯลฯ

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม 

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณี

 

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณี องค์นี้เองนั้น เป็นพิมพ์พระประธาน พระเกศจรดซุ้ม พระศอ (คอ) เรียวเป็นเส้นบาง มีอัญมณีสีเขียวประดับขวางแนวนอนในช่วงพระอังสา (ไหล่) และตั้งแต่พระเพลา (ตัก) ไปจนถึง ฐาน 3 ชั้น ก็แซมด้วยอัญมณีสีต่างๆ ขนาดต่างๆ และหลายสีสันสลับกันไป โดยเป็นอัญมณีสีใสๆ มีทั้งกลม เหลี่ยม แตกต่างกันไป ด้านหลังปรากฏเป็นหลังเรียบ มีความแห้ง ยุบ   แยก ตามกาลเวลา

 

ภาพพระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง) ประดับอัญมณี จากกล้องกำลังขยายสูง


พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)


พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)

 

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)

พระสมเด็จ กรุพระธาตุพนม (จำลอง)

จากภาพในกล้องกำลังขยายสูง เราจะมองเห็นความนุ่มนวล และความซึ้งของพระสมเด็จ ที่ผ่านกาลเวลากว่า 150 ปี และความมันที่เราเห็นบนผิวพระ คือ แคลไซซ์ (Calcite) ที่เกิดขึ้น เป็นการทำปฏิกิริยาของแคลเซียมออกไซด์ที่ผ่านกาลเวลามากว่าร้อยปี เนื่องจากมวลสารหลักในพระสมเด็จ คือ ปูนเปลือกหอย ได้ทำปฏิกิริยานั่นเอง แนวทางนี้เป็นแนวทางในการศึกษาพระสมเด็จของ  อาจารย์ไพศาล มุสิกะโปดก ผู้ชำนาญการธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์พระสมเด็จ ที่ให้ดูความ  ยุบ แยก ย่น หด เหี่ยว แห้ง ซึ่งคุณพ่อของผู้เขียนเองก็ศึกษาในแนวทางของ อาจารย์ไพศาล เช่นกัน

 

อ้างอิง 1.บล็อกพระเครื่องเรื่องใหญ่ 
2.สถาบันพุทธรักษา 
3.เพจพระสกุลวัง พระสมเด็จโต 

 

เรื่องโดย : อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ คอลัมน์นิสต์ สำนักข่าว EduNewsSiam 

คุยกับคอลัมนิสต์ที่ : arphawan.s@gmail.com

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)